ชีวิตไม่ใช่เกม พลาดแล้วไม่สามารถเรี่มใหม่หรือกดโหลดได้

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค


1. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
 ด้านการเรียน
            การใช้แท็บเล็ต(Tablet) โดยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีแท็บเล็ตพีซีเป็นของตนเองอย่างทั่วถึง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิผล โดยพบว่าการใช้แท็บเล็ตเป็นการสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนและมีผลกระทบในทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีกทั้งช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง
ด้านหลักสูตร
            สำหรับด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนนั้นพบว่า  การใช้แท็บเล็ตพีซีนั้นช่วยส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน  และส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอนที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนประกอบมากขึ้น  อย่างไรก็ตามการสร้างให้เกิดผลสำเร็จดังกล่าวนั้นต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนและการจัดการในด้านต่างๆจากผู้บริหารเช่นการสนับสนุนให้มีเครือข่ายสื่อสารแบบไร้สาย(Wireless Network) และเครื่องสายแบบไร้สาย (Wireless Data Projector) ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถสร้างและใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการประกอบการเรียนการสอนในสถานศึกษาต่อไป
คุณลักษณะของแท็บเล็ตที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้นั้น สามารถสนองต่อความต้องการทางการเรียนรู้รายบุคคล สามารถติดตามช่วยเหลือให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ได้ เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย ซึ่งการเรียนรู้บางครั้งต้องอาศัย "การจำลองสถานการณ์" หรือ "การทดลองเสมือนจริง" ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ผ่านช่องทางสื่อสารหรือเครือข่ายสังคมต่างๆ
           "การใช้แท็บเล็ตให้ได้ผลจึงขึ้นอยู่กับครู ที่จะออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของเด็กผสมผสานกับกระบวนการต่างๆ ในโรงเรียน ซึ่งยากกว่าการบรรจุสื่อลงในแท็บเล็ต เด็กๆ ที่ใช้แท็บเล็ตตั้งแต่เล็กจะรับรู้และคุ้นเคยกับเทคโนโลยีและสร้างโลกส่วนตัว เริ่มรู้สึกว่ามีอิสรภาพทางความคิด สังคมและความรู้มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นวัตถุมีความสำคัญมากล้น แต่จิตวิญญาณอาจจางลง โลกจะกลับมาทำให้ผู้คนไม่สนใจคนข้างเคียง ไม่อยากพูดคุยกับคนที่อยู่ใกล้"
          เหนืออื่นใด การศึกษาต้องเน้นสร้างจิตวิญญาณของการเรียนรู้ การคิดเป็น ต่อยอดความรู้ เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนเป็นหลัก มากกว่าการสอนหรือป้อนความรู้ให้เด็ก เรายังมีความท้าทายรอในอนาคตอีกมาก เพราะอายุของเทคโนโลยีสมัยใหม่สั้นมาก ดังนั้นการนำมาใช้ต้องคิดให้รอบคอบ ที่สำคัญครูและผู้เรียนจะต้องสร้างสมรรถนะทางคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) ให้เหมาะสม เพื่อรองรับการใช้งานร่วมกับผู้เรียนควบคู่ไปกับการศึกษาวิจัยต่อไป
จุดเด่น ของการใช้แท็บเล็ต พีซี
            1.สนองต่อการเรียนรู้เป็นรายบุคคล
            2.เป็นสื่อที่ก่อให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย
            3.เกิดการแบ่งปันประสบการณ์ซึ่งกันและกัน
            4.สามารถออกแบบหน่วยการเรียนรู้ได้ชัดเจน และมีความยืดหยุ่น
            5.ส่งผลสะท้อนความก้าวหน้าทางการเรียนรู้จากเนื้อหาที่เรียนต่อผู้เรียนได้ดีและสามารถช่วยให้ผู้เรียนปรับปรุงตนเองในการเรียนรู้เนื้อหาสาระ
            6.สนองต่อคุณภาพข้อมูลสารสนเทศ ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาสาระของข้อมูลสารสนเทศ
จุดบกพร่องของการใช้แท็บเล็ต พีซี
            1.ขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนโดยการใช้ Tablet
            2.ครูผู้สอนยังขาดทักษะในการใช้อุปกรณ์ Tablet ในการจัดการเรียนการสอน ในขณะที่ผู้เรียนบางคนมีความพร้อมที่จะเรียน
            3.ยังไม่มีการสร้างเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรมที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
            4.ยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ ด้านการบำรุงรักษา  การแก้ปัญหาเรื่องอุปกรณ์และการใช้งาน
            5.มีการจำกัดผู้เรียนในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ (อินเตอร์เน็ต) ซึ่งทำให้ผู้เรียนขาดอิสระในการเรียนรู้
2.สมาคมอาเซียน
                ประชาคมอาเซียน หรือ ASEAN Communityประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  บรูไน  เวียดนาม  ลาว   พม่า    กัมพูชา  มีประชากรรวมกันประมาณ 570  ล้านคน มีขนาดเศรษฐกิจที่โตมาก  ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา คือ
                1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
                2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน
3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
ประโยชน์ที่ไทยได้รับคืออะไร
               1.ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองในระดับโลก
                2.Economy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ
                3.มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น 
                4.สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว
ประเทศไทย
                ประเทศไทยของเราอยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน มีประเทศสมาชิกรวมกัน 10 ประเทศ และกำลัง       ก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ใน พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของ สินค้า (Free flow of goods) แรงงานฝีมือ (Free flow of skilled labor) การบริการ (Free flow of services) การลงทุน (Free flow of investment) เงินทุน (Free flow of capital)
              ในส่วนของการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ ผู้ประกอบวิชาชีพเฉพาะ นั้น หลายท่านอาจจะยังงงๆอยู่ว่าจะเป็นอย่างไร จะเตรียมตัวอย่างไร เกิดความวิตกถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการประกอบวิชาชีพของตัวเอง โดยเฉพาะท่านที่ประกอบวิชาชีพเฉพาะ คือเป็นวิชาชีพที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพหรือใบประกอบโรคศิลปะ จากการที่ได้ศึกษาข้อมูลของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (Department of Trade Negotiations) ของไทย มีความชัดเจนในกลุ่มวิชาชีพที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ โดยมีการจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements: MRAs) แล้ว เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบวิชาชีพของแต่ละประเทศก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอาเซียน ซึ่งสามารถไปทำงานในประเทศสมาชิกต่างๆได้
จนถึงขณะนี้มี MRAs ทั้งหมด 7 สาขาวิชาชีพได้แก่   วิศวกรรม(Engineering Services)      พยาบาล         (Nursing Services)  สถาปัตยกรรม   (Architectural Services) การสำรวจ     (Surveying Qualifications)แพทย์            (Medical Practitioners)   ทันตแพทย์    (Dental Practitioners)   บัญชี (Accountancy Services)  โดยเพิ่ม “การท่องเที่ยว” เป็นสาขาที่ 8   ซึ่งต่อไปอาจเพิ่มสาขาวิชาชีพอื่นๆมากขึ้นอีกเป็น สิบ ยี่สิบ สามสิบ หรือมากกว่าก็ได้  เราจะเตรียมตัวอย่างไร  คำถามยอดฮิตคือ "เตรียมตัวอย่างไรในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน"
พลเมืองไทย ยังไม่พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
                 การเกิดของประชาคมอาเซียนเป็นการค่อยๆเกิด ค่อยๆพัฒนา ค่อยๆเติบโต และค่อยเป็นค่อยไป เป็นกระบวนการที่ถูกปล่อยให้พัฒนาไปช้าๆมาแต่แรกเริ่ม แต่มาถูกเร่งให้เป็นรูปธรรมโดยตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2558/2015อาเซียน เวลาของการเตรียมพร้อมนั้นน้อยมาก ความตื่นตัวในหมู่ประชาชนไทยเองยังไม่ปรากฏ นอกเหนือไปจากการทำกิจกรรมในสถาบันการศึกษาจำนวนไม่มากนัก ยิ่งไปกว่านั้นก็ยังพบว่ารัฐบาลเองก็ยังไม่ตื่นตัว ยังไม่มีแผนยุทธศาสตร์ใดๆเลยในอันที่จะนำทางประชาชนไปสู่ประชาคมอาเซียน รัฐบาลปัจจุบันยังไม่ประกาศแผนปฏิบัติการส่วนของไทยในการไปสู่ประชาคมอาเซียนเลย
ดังนั้นภาคประชาชนจึงไม่มีทิศทางในการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ไม่รู้ว่าต้องทำอะไรอย่างไร เมื่อไร และจะพึ่งใครได้ ถ้าต้องการข้อมูลข่าวสารเพื่อเตรียมตัวให้พร้อม     
ประเทศเพื่อนบ้าน
                ใน 9 ประเทศที่เป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนยกเว้นประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมการเปิดอาเซียนกันมากรัฐบาลมีการสนับสนุนการให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและที่ได้เปรียบกว่าคนไทยนั่นก็คือภาษาอังกฤษจากผลสำรวจประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชากรมีความสามารถาทางด้านภาษาอังกฤษน้อยที่สุด
การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
                มีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับอาเซียนภายในโรงเรียน การจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบรรยากาศให้เด็กนักเรียนตลอดจนครูและบุลากรทางการศึกษาได้เรียนรู้และเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.2558 
การปรับเปลี่ยนเวลาเปิดและปิดภาคเรียนในสถาบันอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับอาเซียน ในปี 2557 ทุกมหาวิทยาลัย น่าจะมีความพร้อมใน การปรับเวลาเปิดเทอมในทุกหลักสูตรให้พร้อมกันทั้งหมด ขณะเดียวกันทาง ทปอ.ก็จะมีการพิจารณาปรับเรื่องการแอดมิชชั่นและรับตรง เพื่อให้นักเรียนได้มีเวลาในการเตรียมความพร้อมเข้ามหาวิทยาลัยมากขึ้น จึงเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็ไม่จำเป็นต้องปรับ ระบบการเปิดปิดภาคเรียนตามไปด้วย
3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
"การที่ครูมีความรู้ความสามารถและแสดงออกให้เห็นว่าเป็นผู้มีสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน  เป็นที่ยอมรับของเพื่อนครู นักเรียน(นักศึกษา) และผู้ปกครอง จนทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมให้เกิดในองค์กรได้"
บุคคลนั้นต้องมีความรู้ความสามารถ ใช้ปัญญาชี้นำและเป็นต้นแบบที่ดีด้านการศึกษาแก่ผู้อื่นหรือสังคมโดยสภาพหรือลักษณะที่แสดงออกของผู้นำนั้นจะต้องแสดงออกทั้งลักษณะทางกาย ทางอารมณ์ ทางสังคมและมนุษย์สัมพันธ์ เป็นต้น 
 บทบาทของผู้นำทางการศึกษา
จะต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาหารือในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม เป็นผู้นำทางปัญญา  และเป็นผู้จูงใจผู้อื่นให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นแบบอย่างที่ของนักเรียนดี  ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน บทบาทในการเป็นบุคคลที่มีความรอบรู้ เฉลียวฉลาด อารมณ์มั่นคง มีความฉลาด มีอารมณ์ดี และมีคุณธรรมและจริยธรรมสูง
           ผู้นำที่ดีจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ด้านคือ
ศรัทธา ความไว้วางใจ สร้างแรงบันดาลใจ    ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล
ผู้นำทางการเรียนการสอนควรมีพฤติกรรม  ดังนี้คือ  ควรหาความรู้และข้อมูลอยู่เกี่ยวกับเด็กอยู่ตลอดเวลาตลอดเวลา  และอยู่กับเหตุการณ์ที่ทันสมัยตามทันโลกปัจจุบันเด็กควรมีการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำและควรมีการให้เด็กแสดงความคิด  มีการเชิญวิทยากรมาบรรยายให้เด็กฟังด้วย



4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร
            การเรียนรู้โดยใช้บล็อกนอกจากจะเรียนรู้ในห้องเรียนแล้วถ้าไม่เข้าใจก็จะถามอาจารย์หรือเพื่อนจนเข้าใจและทำได้  เป็นการฝึกฝนการเรียนการสอนแบบใหม่ฝึกการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถที่จะทำได้ทุกที่ทุกเวลาไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนก็ตาม  สำหรับการเรียนรู้การใช้บล็อกหากไม่เข้าใจก็ถามอาจารย์ผู้สอนซึ่งท่านเป็นผู้ที่ชำนาญเรื่องเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาก
Blog คืออะไรแสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปโอกาสหน้าจะเป็นอย่างไร
                      บล็อก คือ รูปแบบหนึ่งของเว็บไซต์ เป็นการบันทึกบทความของตนเอง ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของบล็อกนั้นสามารถครอบคลุมได้ทุกเรื่อง มีเนื้อหาได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่างๆ บล็อกถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้ที่ลำดับแรกสุด
            ต่อไปโอกาสหน้าถ้าจะเรียนโดยบล็อก  ก็เป็นเรื่องที่ดีและหน้าสนใจเพราะไม่ต้องเรียนจากตำราและใช้กระดาษแต่จะมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนซึ่งสอดคล้องกับการจะก้าวสู่อาเซียนต่อไปข้างหน้าแต่กาเรียนโดยการใช้บล็อกก็มีข้อเสียอยู่คือเด็กไม่ค่อยสนใจเรียนเด็กจะเล่นอินเตอร์เน็ตมากว่าจะฟังที่ครูสอน  และบางครั้งอินเตอร์เน็ตก็ไม่ดี
ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหากนักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
ควรให้คะแนนการปฏิบัติมากกว่าการสอบแต่ละครั้ง
ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
การเรียนโดยการใช้บล็อกมีความพยายามในการทำทุกครั้ง  เพราะไม่เคยเรียนและทำมาก่อนเป็นสิ่งที่แปลกใหม่น่าสนใจและทำให้ตัวเราเองเป็นคนที่ดูทันต่อเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
เข้า ไม่ทุกครั้งมีขาดบ้างลาบ้าง
ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
อาจจะทำไม่ตรงตามเวลาบ้างแต่ก็เสร็จทุกกิจกรรมทันกำหนดส่ง
ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
บ้างครั้งก็ทำเองคนเดียว บ้างครั้งร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกันกับเพื่อน
สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
ทำด้วยความพยายามของตัวเองและบางครั้งก็ไปชวนกันคิดกันบางเพื่อนเพื่อปรึกษาร่วมกัน
อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
            อยากได้เกรด    B เพราะงานที่อาจารย์สั่งทำส่งทุกครั้งและทำด้วยความตั้งใจ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น