การทำงานเป็นทีมนั้นจะประสบผลสำเร็จจะต้องมีความสามารถในการใช้วิชาความรู้
และความสามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่น และควรกระทำอย่างบริสุทธิ์
ปราศจากอคติ และมีความถูกต้อง มีเหตุผล
การทำงานเป็นทีมจะทำให้งานที่ออกมานั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทีม หมายถึง กลุ่มคนตั้งแต่ 2
คนขึ้นไปที่ทำงานร่วมกันเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน
สมาชิกจะต้องเสียสละความเป็นส่วนตัว มีความเข้าใจ
มีความผูกพันธ์และให้ความร่วมมือกัน
แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของบุคคล
1.การยอมรับความแตกต่างของบุคคล
2.แรงจูงใจของมนุษย์
3.ธรรมชาติของมนุษย์
ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
จะต้องเข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างชัดเจน มีความจริงใจต่อกัน
ไว้ใจซึ่งกันและกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ร่วมกันแก้ไขปัญหา
ใช้ความขัดแย้งเชิงสร้างสรรค์ ทบทวนการทำงานและมีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่นและเข้าใจเพื่อนร่วมงาน
วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
กิจกรรมที่ 3
1.การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21
การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในก่อนศตวรรษที่ 21 เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิตและเมื่อถึงระยะหนึ่งการเรียนรู้จะสิ้นสุดลง และจะมีผู้เชี่ยวชาญพิเศษเป็นผู้บรรยายและถ่ายทอดความรู้ และ กำหนดรายละเอียดเนื้อหาแต่ก่อนศตวรรษมนุษย์จะไม่รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเองละ จดจำความรู้ที่ได้รับได้น้อยลงดังนั้นโรงเรียนจึงต้องมีส่วนร่วมในการกล่อม เกลามนุษย์ให้เป็นคนดีของสังคมและไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในยุคปัจจุบันยุคศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ตนเองตามแต่ลักษณะของบุคคลแต่ละบุคคลมีขีดความสามรถไม่เท่าเทียมกัน และมีสื่อทางเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนและมีเครือข่ายเชื่อโยงถึงกันและทันสมัย บรรยากาศของห้องเรียนจะลักษณะที่ดีและหน้าเรียน
2.ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุคต่อไปข้างหน้าให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา
การเตรียมตัวในการเป็นครูที่ดีนั้นครูผู้สอนจะต้องวางแผนเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะสอนและมองถึงความพร้อมของผู้เรียนในการเรียน จึงทำให้ “ครู”หรือ “อาจารย์” ต้องปรับตัวในการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้ได้ “ผลผลิต” ทั้งในด้าน “ความรู้” ที่จะถ่ายทอดและ “บัณฑิต” ที่มีคุณภาพ แม่นตรงในเนื้อหาของความรู้ ที่จะนำมาถ่ายทอดต่อสู่ผู้เรียน ตาม”ระดับความเหมาะสม” เพื่อ ให้ตนเองและผู้เรียนรู้สามารถใช้ความรู้ประยุกต์ในการแก้ปัญหา หรือหาหนทางพัฒนางานที่เกี่ยวข้อง หรือนำไปใช้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและศึกษาความรู้ ที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับความรู้ในศาสตร์เฉพาะทางแห่งตน และใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนก้าวทันสมัย
กิจกรรมที่2 ทฤษฎีการบริหารการศึกษา
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น
มาสโลว์ เป็นเจ้าของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ลำดับ ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์ เขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการ พฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนองความพอใจ มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่ 1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs)
2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs)
3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs)
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs)
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต(Self–ActualizationNeeds)
มาสโลว์ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับความต้องการมนุษย์ไว้ดังนี้
1. มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ
2. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมนั้น ๆ อีกต่อไป
3. ความต้องการของมนุษย์จะเรียงกันเป็นลำดับขั้น ตามความสำคัญ
Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y
อาจจะเรียกได้ว่าเป็นทฤษฎีการมองต่างมุม ในความเป็นจริงของคนทุกคนไม่มีใครจะร้ายอย่างบริสุทธิ์ คือไม่มีข้อดีเลย คงไม่มี และในทางกลับกัน ก็คงไม่มีใครที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์
ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
แมคเกรเกอร์ ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี X ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎี Y
William Ouchi : ทฤษฎี Z
ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน คุณการที่จะทำความเข้าใจทฤษฎี Z ได้นั้น ต้องทำความเข้าใจของทฤษฎี A และทฤษฎี J ก่อน
ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา ซึ่งให้หลักการว่า การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต
ทฤษฎี J คือ การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น ซึ่งมีลักษณะที่เรียกว่า 1.) การจ้างงานตลอดชีวิต หรือ Lifetime Employment มีการเลื่อนตำแหน่ง มีความผูกพันกัน
วิลเลี่ยม โอชิ ได้นำทฤษดฎีข้างต้น ที่เรียกว่า Blend Together หรือการนำมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ทฤษฎี Z ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ โดย
1.) ใช้วิธีแบบ Long Term Employment หรือการจ้างงานระยะยาวขึ้น ซึ่งเป็นทางสายกลาง
2.) ประการที่สอง จะต้องมีลักษณะที่เรียกว่า Individaul Responsibility คือ จะต้องมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล ซึ่งนำเอาหลักแนวคิดแบบอเมริกันมาใช้กับบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง
3.) และประการที่ 3 คือ ต้องมี Concential Decision Making คือ การตัดสินใจต้องทำเป็นทีม ต้องมีการพูดคุย ถึงผลดีผลเสียของการบริหารจัดการแบบต่างๆ
Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่
เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ(Operational management theory)
หรือบางทางก็ถือกันว่าเป็นบิดาของการบริหารจัดการสมัยใหม่
เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือ
1. การวางแผน(Planning)
2. การจัดองค์การ(Organizing)
3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)
4. การประสานงาน (Coordinating)
5. การควบคุม (Controlling)
Max Weber : ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ (Bureaucratic Management)
แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy โดยสรุป แล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการมีดังนี้ คือ
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ น(Division of labor)
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น ( Authority Hierarchy)
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ ( Formal Selection)
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ (Formal Rules and Regulations)
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ( Impersonality) ความจริงคำว่า impersonality
P คือการวางแผน (planning) หมายถึงการกำหนดเป้าหมายขององค์การว่าควรทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อะไร และจะดำเนินการอย่างไร
เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน เขาได้ศึกษาโดยการสัมภาษณ์พนักงานในเรื่องของความพึงพอใจจากการทำงาน สรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors
2. ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors
ปัจจัยภายนอก(Hygiene Factors) ได้แก่
* นโยบายขององค์กร
* การบังคับบัญชา
* ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน
* สภาพแวดล้อม/เงื่อนไขในการทำงาน
* ค่าจ้าง/เงินเดือน/สวัสดิการ
* ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
ปัจจัยภายใน(Motivation Factors) ได้แก่
* การทำงานบรรลุผลสำเร็จ
* การได้รับการยอมรับ
* ทำงานได้ด้วยตนเอง
* ความรับผิดชอบ
* ความก้าวหน้าในงาน
* การเจริญเติบโต
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ น(Division of labor)
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น ( Authority Hierarchy)
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ ( Formal Selection)
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ (Formal Rules and Regulations)
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ( Impersonality) ความจริงคำว่า impersonality
6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ (Career Orientation)
Luther Gulick : POSDCORB
Luther Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ กิจกรรมทั้ง 7 ประการมีคำย่อว่า POSDCORB(CO คือคำเดียวกัน) มีการนำรูปแบบการบริหารจัดการของLuther Gulick ไปใช้ในการบริหารองค์กรสมัยใหม่อย่างกว้างขวาง แนวความคิดที่นำเอามุมมองทั้ง 7 ด้านมาใช้นั้นสอดคล้องกับทฤษฎีการบริหารจัดการของ Henri Fayol , Frederick W.Taylor และ Max Weber P คือการวางแผน (planning) หมายถึงการกำหนดเป้าหมายขององค์การว่าควรทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อะไร และจะดำเนินการอย่างไร
O คือการจัดองค์การ (organizing) หมายถึงการจัดตั้งโครงสร้างอำนาจอย่างเป็นทางการภายในองค์การเพื่อประสานงานหน่วยทำงานย่อยต่าง ๆ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์การได้
D คือการสั่งการ (directing) หมายถึง การที่หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่ต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลาโดยพยายามนำเอาการตัดสินใจดังกล่าวมาเปลี่ยนเป็นคำสั่งและคำแนะนำนอกจากนี้ ยังหมายถึงการที่หัวหน้าฝ่ายบริหารต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำขององค์การ
S คือการบรรจุ (staffing) หมายถึง หน้าที่ด้านบริหารงานบุคคลเพื่อฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และจัดเตรียมบรรยากาศในการทำงานที่ดีไว้
CO คือการประสานงาน(co-ordinating) หมายถึง หน้าที่สำคัญต่าง ๆ ในการประสานส่วนต่าง ๆ ของงานให้เข้าด้วยกันอย่างดี
R คือการรายงาน (reporting) หมายถึง การรายงานความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในองค์การให้ทุกฝ่ายทราบ ทั้งนี้อาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การวิจัยและการตรวจสอบ
D คือการสั่งการ (directing) หมายถึง การที่หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่ต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลาโดยพยายามนำเอาการตัดสินใจดังกล่าวมาเปลี่ยนเป็นคำสั่งและคำแนะนำนอกจากนี้ ยังหมายถึงการที่หัวหน้าฝ่ายบริหารต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำขององค์การ
S คือการบรรจุ (staffing) หมายถึง หน้าที่ด้านบริหารงานบุคคลเพื่อฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และจัดเตรียมบรรยากาศในการทำงานที่ดีไว้
CO คือการประสานงาน(co-ordinating) หมายถึง หน้าที่สำคัญต่าง ๆ ในการประสานส่วนต่าง ๆ ของงานให้เข้าด้วยกันอย่างดี
R คือการรายงาน (reporting) หมายถึง การรายงานความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในองค์การให้ทุกฝ่ายทราบ ทั้งนี้อาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การวิจัยและการตรวจสอบ
B คือการงบประมาณ (budgeting) หมายถึงหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวของกับงบประมาณในรูปของการวางแผนและการควบคุมด้านการเงินการบัญชี
Frederick Herzberg : ทฤษฎี 2 ปัจจัย (Two Factors Theory)
ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg)เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน เขาได้ศึกษาโดยการสัมภาษณ์พนักงานในเรื่องของความพึงพอใจจากการทำงาน สรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors
2. ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors
ปัจจัยภายนอก(Hygiene Factors) ได้แก่
* นโยบายขององค์กร
* การบังคับบัญชา
* ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน
* สภาพแวดล้อม/เงื่อนไขในการทำงาน
* ค่าจ้าง/เงินเดือน/สวัสดิการ
* ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
ปัจจัยภายใน(Motivation Factors) ได้แก่
* การทำงานบรรลุผลสำเร็จ
* การได้รับการยอมรับ
* ทำงานได้ด้วยตนเอง
* ความรับผิดชอบ
* ความก้าวหน้าในงาน
* การเจริญเติบโต
Frederick W. Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
เทย์เลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ
Frank B. & Lillian M. Gilbreths : Time – and – Motion Studies
แนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง (the one best way to do work) การศึกษาที่สำคัญคือลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกายในการทำงาน (Motion Study)ผังกระบวนการทำงาน (Work Flow Process Chart)
เทย์เลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่
1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ
Frank B. & Lillian M. Gilbreths : Time – and – Motion Studies
แนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง (the one best way to do work) การศึกษาที่สำคัญคือลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกายในการทำงาน (Motion Study)ผังกระบวนการทำงาน (Work Flow Process Chart)
กิจกรรมที่ 1
ความหมายของคำว่า การบริหาร การศึกษา การบริหารการศึกษา
การบริหาร คือ การทำงานตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน โดยการใช้ศาสตร์และศิลปะมาใช้ในการบริหาร ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
การศึกษา คือ การสร้างประสบการณ์ชีวิตให้เกิดความเจริญงอกงามทั้งร่างกาย อารมณ์สังคมและสติปัญญาสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้
การบริหารการศึกษา คือ การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนไห้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี ตามที่สังคมต้องการ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
ความแตกต่างของการบริหารการศึกษากับการบริการอื่นๆ1.ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ การบริหารราชการแผ่นดิน มีความประสงค์เพื่อความอยู่ดีกินดี ส่วน การบริหารการศึกษา มุ่งเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ2.บุคคล 2.1 ผู้ให้บริการ บุคคลที่ให้บริการทางการศึกษาคือ ครูอาจารย์ผู้อำนวยการ ผู้บริหารต้องเป็นคนที่มีคุณภาพ เป็นคนดี แตกต่างจากผู้บริหารราชการแผ่นดิน 2.2 ผู้รับบริการ ผู้รับบริการในการบริหารการศึกษา จะเป็นเด็กเยาว์วัย ส่วน บุคคล ที่รับบริการ ราชการแผ่นดินคือคนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว 3.กรรมวิธีในการดำเนินงาน การบริหารการศึกษา เป็นกรรมวิธีที่ละเอียดอ่อน การบริหารราชการและการบริหารธุรกิจจะนำไปใช้ไม่ได้4.ผลผลิต การบริหารการศึกษา เน้นให้ผู้เรียนมีคุณภาพทางการศึกษา ส่วนผลผลิตทางการบริหาราชการแผ่นดินและการบริหารธุรกิจ เป็นรูปธรรมที่มองเห็นได้ง่าย เช่นมีคลองระบายน้ำ
งานบริหารการศึกษาโดยทั่วไปแบ่งได้ 5 ประเภท
1.การบริหารวิชาการ เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการสอน ครอบคลุมเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อ
เป็นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
2. การบริหารธุรการ เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการเงิน วัสดุครุภัณฑ์ และงานบริการอื่นๆ
3. การบริหารงานบุคคล เป็นการสรรหาบุคคลเข้ามาเป็นครู
4. การบริการกิจการนักเรียน เป็นการดำเนินการเกี่ยวกับนักเรียน เช่นการปฐมนิเทศ การปกครองนักเรียน
สามารถเสริมสร้างให้นักเรียนเป็นคนดีคนเก่งได้
5. การบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน เป็นการบริหารงานกับชุมชน สามารถทำให้นักเรียนมีคุณภาพ เพราะเมื่อเรียนแล้วสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ได้
การบริหาร คือ การทำงานตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน โดยการใช้ศาสตร์และศิลปะมาใช้ในการบริหาร ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
การศึกษา คือ การสร้างประสบการณ์ชีวิตให้เกิดความเจริญงอกงามทั้งร่างกาย อารมณ์สังคมและสติปัญญาสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้
การบริหารการศึกษา คือ การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนไห้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี ตามที่สังคมต้องการ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
ความแตกต่างของการบริหารการศึกษากับการบริการอื่นๆ1.ความมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ การบริหารราชการแผ่นดิน มีความประสงค์เพื่อความอยู่ดีกินดี ส่วน การบริหารการศึกษา มุ่งเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ2.บุคคล 2.1 ผู้ให้บริการ บุคคลที่ให้บริการทางการศึกษาคือ ครูอาจารย์ผู้อำนวยการ ผู้บริหารต้องเป็นคนที่มีคุณภาพ เป็นคนดี แตกต่างจากผู้บริหารราชการแผ่นดิน 2.2 ผู้รับบริการ ผู้รับบริการในการบริหารการศึกษา จะเป็นเด็กเยาว์วัย ส่วน บุคคล ที่รับบริการ ราชการแผ่นดินคือคนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว 3.กรรมวิธีในการดำเนินงาน การบริหารการศึกษา เป็นกรรมวิธีที่ละเอียดอ่อน การบริหารราชการและการบริหารธุรกิจจะนำไปใช้ไม่ได้4.ผลผลิต การบริหารการศึกษา เน้นให้ผู้เรียนมีคุณภาพทางการศึกษา ส่วนผลผลิตทางการบริหาราชการแผ่นดินและการบริหารธุรกิจ เป็นรูปธรรมที่มองเห็นได้ง่าย เช่นมีคลองระบายน้ำ
งานบริหารการศึกษาโดยทั่วไปแบ่งได้ 5 ประเภท
1.การบริหารวิชาการ เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการสอน ครอบคลุมเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อ
เป็นการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ
2. การบริหารธุรการ เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการเงิน วัสดุครุภัณฑ์ และงานบริการอื่นๆ
3. การบริหารงานบุคคล เป็นการสรรหาบุคคลเข้ามาเป็นครู
4. การบริการกิจการนักเรียน เป็นการดำเนินการเกี่ยวกับนักเรียน เช่นการปฐมนิเทศ การปกครองนักเรียน
สามารถเสริมสร้างให้นักเรียนเป็นคนดีคนเก่งได้
5. การบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน เป็นการบริหารงานกับชุมชน สามารถทำให้นักเรียนมีคุณภาพ เพราะเมื่อเรียนแล้วสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)